Wednesday, July 30, 2008

Windows Server 2008 Print Server

การติดตั้งวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็นพรินเซิร์ฟเวอร์ (Print Server)
นอกจากบริการแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์แล้ว บริการอย่างหนึ่งที่มีการใช้งานกันมากในสำนักงานหรือแม้การใช้งานในบ้านการแชร์ก็ตาม คือการแชร์พริ้นเตอร์ โดย Windos Server 2003 นั้น ก็สามรถทำหน้าที่พริ้นเซิร์ฟเวอร์ (Print Server) เพื่อให้บริการแชร์พรินเตอร์ได้เช่นกัน

สำหรับวิธีการติดตั้งให้โดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 ทำหน้าที่เป็นพริ้นเซิร์ฟเวอร์ (Print Server) นั้นทำได้โดยการเพิ่ม Role ให้กับเซิร์ฟเวอร์จากหน้าต่าง Manage Your Server ลักษณะเช่นเดียวกับการติดตั้งเปนไฟล์เซิร์ฟเวอร์ โดยเมื่อเพิ่ม Role เสร็จแล้วจะมีลิงค์ Add a Printer บนหน้าต่าง Manage Your Server เพื่อใช้ในการ Add Printer เพื่อให้บริการแก่ยูสเซอร์

การติดตั้ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็น Print Server
การติดตั้ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 ให้เป็น Print Server นั้น มี 2 ขั้นตอนดังนี้

• การติดตั้งบริการ Print Services
1. เปิด Server Manager โดยการคลิก Start แล้วคลิก Server Manager
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ Add Roles ซึ่งจะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Roles Wizard: Before You Begin
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Before You Begin ให้คลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Server Roles ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Print Services แล้วคลิก Next



5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Print Services ให้คลิก Next
6. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Role Services ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Print Server แล้วคลิก Next



7. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Confirm Installation Selections คลิก Install
8. รอจนระบบทำการติดตั้งแล้วเสร็จ จากนั้นในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Installation Results คลิก Close ซึ่งจะกลับไปยังหน้าต่าง Server Manager

• การแชร์พรินเตอร์
1. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ Print Services
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในแพนดีเทลแพนของ Print Services ให้คลิกที่ลิงค์ Add and share a printer on the networks.
3. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Network Print Installation Wizard:Printer Installation ให้เลือกเป็น Add a TCP/IP or Web Services Printer by IP Address or hostname แล้วคลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Address ให้เลือก Type of Device เป็น TCP/IP Device แล้วใส่ค่าชื่อพรินเตอร์หรือหมายเลขไอพีในช่อง Printer name or IP address เสร็จแล้วคลิก Next



5. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Name and Sharing Settings ให้ใส่ชื่อแชร์ที่ต้องการในช่อง Share Name: สำหรับช่อง Location: และ Comment: นั้นใส่ค่าหรือไม่ก็ได้ เสร็จแล้วคลิก Next



6. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Found ให้ตรวจสอบความถูกต้อง เสร็จแล้วคลิก Next



7. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Completing the Network Printer Installation Wizard ให้คลิก Finish

• การเพิ่มเครื่องพรินเตอร์ (Add Printer) บนเครื่องพรินเซิร์ฟเวอร์
การ Add Printer เพิ่มเติมบนเครื่องพรินเซิร์ฟเวอร์นั้น มีวิธีการดังนี้

1. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ Print Services
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในคอลโซลทรีของ Print Services ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Print Services แล้วคลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Print Management แล้วคลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Print Server แล้วคลิกขวาที่ Server (ชื่อพรินเซิร์ฟเวอร์) แล้วเลือก Add Printer...



หรือคลิกขวาที่ Printer แล้วเลือก Add Printer...



3. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Network Print Installation Wizard:Printer Installation ให้เลือกเป็น Add a TCP/IP or Web Services Printer by IP Address or hostname แล้วคลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Address ให้เลือก Type of Device เป็น TCP/IP Device แล้วใส่ค่าชื่อพรินเตอร์หรือหมายเลขไอพีในช่อง Printer name or IP address เสร็จแล้วคลิก Next
5. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Name and Sharing Settings ให้ใส่ชื่อแชร์ที่ต้องการในช่อง Share Name: สำหรับช่อง Location: และ Comment: นั้นใส่ค่าหรือไม่ก็ได้ เสร็จแล้วคลิก Next
6. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Found ให้ตรวจสอบความถูกต้อง เสร็จแล้วคลิก Next
7. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Completing the Network Printer Installation Wizard ให้คลิก Finish

การใช้งานเครื่องพรินเตอร์ที่แชร์โดยเครื่องพรินเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย
การเข้าใช้งานพรินเตอร์ที่แชร์โดยเครื่องพรินเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย จากเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายนั้น มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. คลิกที่ Start แล้วคลิก Printers and Faxes
2. ที่หน้าต่าง Printers and Faxes ในส่วน Printer Tasks คลิก Add Printer เพื่อเปิดในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Printer Wizard แล้วคลิก Next
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Local or Network Printer เลือก network printer or a printer attached to another computer แล้วคลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Specify a Printer เลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังนี้
-Browse for a printer
-Connect to this printer แล้วพิมพ์ชื่อ UNC ของ share printer ที่ต้องการในช่อง Name: เสร็จแล้วคลิก Next
- Connect to a printer on the Internet or on your intranet แล้วพิมพ์ชื่อ http://printserver_name/Printers/share_name/.printer ในช่อง URL:
5. เสร็จแล้วคลิก Finish

หลังจากทำเพิ่มพรินเตอร์เสร็จแล้ว ให้ทำการทดลองใช้งานโดยทำการเปิดโปรแกรม Microsoft Word หรือ Notepad แล้วทำการสั่งพิมพ์งาน

หมายเหตุ:
เครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์ทดสอบในที่นี้จะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กพีซ์

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
การจัดการ Windows Server 2008 แบบ Stand Alone
การติดตั้งวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server)

Add to Technorati Favorites Add to Google Add to del.icio.us Add to digg.com
Keywords: Windows Server 2008 Print Server

© 2008, All Rights Reserved.

Windows Server 2008 File Server

การติดตั้งวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server)
ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) นั้น เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ โดยในวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 นั้น ยังสามารถทำการกำหนดปริมาณการใช้งาน (Quota) พื้นที่เก็บข้อมูลของแต่ละยูสเซอร์ได้อีกด้วย โดยการติดตั้งให้วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 ทำหน้าที่เป็น ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) นั้นทำได้โดยการเพิ่ม Role ให้กับ Server จากหน้าต่าง Server Manager เมื่อเพิ่ม Role เสร็จแล้ว จะมีลิงค์ File Services บนหน้าต่าง Server Manager ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังหน้าต่างสำหรับใช้จัดการการแชร์ Folder

การติดตั้ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็น File Server
การติดตั้ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 ให้เป็น File Server นั้น มี 2 ขั้นตอนดังนี้

• การติดตั้งบริการ File Services
1. เปิด Server Manager โดยการคลิก Start แล้วคลิก Server Manager
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ Add Roles ซึ่งจะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Roles Wizard: Before You Begin
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Before You Begin ให้คลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Server Roles ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ File Services แล้วคลิก Next



5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ File Services ให้คลิก Next
6. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Role Services ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ File Server แล้วคลิก Next



7. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Confirm Installation Selections คลิก Install
8. รอจนระบบทำการติดตั้งแล้วเสร็จ จากนั้นในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Installation Results คลิก Close ซึ่งจะกลับไปยังหน้าต่าง Server Manager

• การแชร์โฟลเดอร์
1. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ File Services
2. ในคอลโซลทรีของ Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า File Services
3. คลิกขวาที่ Share and Storage Management แล้วเลือก Povision Share... ซึ่งจะได้หน้าต่าง Povision a Shared Folder Wizard



4. ในหน้าต่าง Shared Folder Location ให้พิมพ์ฟูลพาธของโฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์ในช่อง Location หรือคลิก Browse แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์ เสร็จแล้วคลิก Next





5. ในหน้า NTFS Permission หากไม่ต้องการแก้ไขเพอร์มิสชันให้เลือก No, do not change NTFS permissions หากต้องการแก้ไขเพอร์มิสชันก็ Yes, change NTFS permissions จากนั้นคลิก Edit permission แล้วทำการแก้ไขค่าเพอร์มิสชันตามต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next
6. ในหน้า Share Protocols ให้เลือกโปรโตคอลที่ต้องการซึ่งจะมีให้เลือก 2 ค่าคือ SMB และ NFS (โปรโตคอล NFS นั้นจะต้องทำการติดตั้งก่อนจึงจะใช้งานได้) จากนั้นใส่ชื่อของแชร์โฟลเดอร์ (เช่น public) ในช่อง Share name: เสร็จแล้วคลิก Next



7. ในหน้า SMB Settings ให้คลิก Next (หากต้องการกำหนดค่าขั้นสูงซึ่งจะเป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับ User Limits และ Caching ให้คลิกที่ Advanced แล้วทำการคอนฟิกตามความต้องการใช้งาน)



8. ในหน้า SMB Permisson ซึ่งจะเป็นการคอนฟิกเพอร์มิสชันการแอคเซสแชร์ผ่านทางเน็ตเวิร์ก ให้เลือกคอนฟิกแชร์เพอร์มิสชันที่ต้องการใช้งาน เสร็จแล้วคลิก Next
9. ในหน้า DFS Namespace Publishing ให้คลิก Next
10. ในหน้า Review Settings and Create Share ให้คลิก Create
11. ในหน้า Confirmation ให้คลิก Close เพื่อกลับไปยังหน้าต่าง Server Manager

มาถึงตรงนี้ก็จะสามารถทำการติดตั้ง File Services และทำการสร้าง Shared Folder บนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว หากต้องการสร้างแชร์โฟลเดอร์เพิ่ม ก็ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1-11 อีกครั้ง

• การจัดการแชร์โฟลเดอร์
การจัดการแชร์โฟลเดอร์ เช่น การแก้ไข Permission หรือ การแก้ไข User Limitts นั้น มีขั้นตอนดังนี้
1. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ File Services
2. ในคอลโซลทรีของ Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า File Services แล้วคลิก Share and Storage Management



3. ในดีเทลแพนด้านขวามือ ให้คลิกขวาที่ Shared Folder แล้วเลือก Properties



4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Share Properties ให้ทำการคอนฟิกตามความต้องการใช้งาน โดยจะมี 2 แท็บ คือ Sharing และ Permission เมื่อทำการคอนฟิกเสร็จแล้วคลิก OK





การใช้งานไฟล์เซิร์ฟเวอร์จากเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์
การใช้งานไฟล์เซิร์ฟเวอร์จากเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายนั้น สามารถทำได้ 3 วิธี ด้วยกัน ดังต่อไปนี้

• การเข้าใช้งานโดยตรงผ่านทางชื่อแบบ Universal Naming Convention (UNC name) คือ ชื่อเต็มของทรัพยากรบนระบบเครือข่าย ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบ \\Server name\sharename เมื่อ Server name คือ ชื่อของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และ sharename คือ ชื่อของทรัพยากรที่แชร์อยูบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนระบบเครือข่าย มีวิธีการดังนี้
1. คลิกที่ Start แล้วคลิก Run
2. พิมพ์ชื่อ UNC ของ share folder ที่ต้องการในช่อง Open เสร็จแล้วกด Enter
3. วิธีการใช้งานนั้นเหมือนการใช้งานโฟลเดอร์ธรรมดาทุกประการ

• การเข้าใช้งานโดยวิธีการแม็พไดรฟ์จากระบบเครือข่าย (Map Network Drive) มีวิธีการทำดังนี้
1. คลิกที่ Start แล้วคลิก My computer
2. ที่เมนูบาร์คลิก Tools แล้วเลือก Map Network Drive
3. พิมพ์หรือเลือกชื่อไดรฟ์ที่ต้องการในช่อง Drive:
4. พิมพ์ชื่อ UNC ของ share folder ที่ต้องการในช่อง Folder: หรือคลิกบราวส์แล้วเลือก share folder ที่ต้องการแล้วคลิก OK
5. เสร็จแล้วคลิก Finish
6. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ User name and password ใส่ชื่อยูสเซอร์ในช่อง Username และใส่รหัสผ่านในช่อง Password เสร็จแล้วคลิก OK
7. วิธีการใช้งานนั้นเหมือนการใช้งานไดรฟ์ Local ทุกประการ

หมายเหตุ
- หากต้องการให้วินโดวส์จำยูสเซอร์เนมและรหัสผ่านโดยอัตโนมัติในการใช้งานครั้งต่อไป ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ Remember my password
- หากต้องการให้วินโดวส์ใช้ยูสเซอร์เนมและรหัสผ่านโดยอัตโนมัติในการใช้งานครั้งต่อไป ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ Don't ask for this password again

• การใช้คำสั่ง net use แม็พไดรฟ์จากคอมมานด์ไลน์ มีวิธีการทำดังนี้
1. เปิดคอมมานด์ไลน์ โดยการคลิก Start คลิก Run พิมพ์ cmd เสร็จแล้วกด Enter
2. ในหน้าต่างคอมมานด์พร็อมพ์พิมพ์ [net][space][use][space][X:][space][\\Server name\sharename] เสร็จแล้วกด Enter

หมายเหตุ
1. ทั้ง 3 วิธีนี้ กระทำบนเครื่องไคลเอ็นต์ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กพีซ์
2. ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย [ ]
3. space = ช่องว่าง
4. X: = ชื่อไดรฟ์ที่ต้องการแม็พ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
การจัดการ Windows Server 2008 แบบ Stand Alone

Keywords: Windows Server 2008 File Services Server

© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

Windows PowerShell 2.0 CTP2

Windows PowerShell 2.0 Community Technology Preview 2 (CTP2)
ไมโครซอฟท์ออก Windows PowerShell 2.0 เวอร์ชัน Community Technology Preview 2 (CTP2) โดยใน PowerShell เวอร์ชัน 2.0 นั้นจะมีการเพิ่มยูสเซอร์อินเทอร์เฟชแบบกราฟิก หรือ GUI เพื่อความสะดวกในหารใช้งาน และสามารถรองรับการจัดการระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 แบบรีโมต (Remote management) ที่ติดตั้งในแบบ Server Core ได้

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ในแหล่งข้อมูลอ้างอิงครับ หรือหากท่านใดสนใจก็สามารถดาวน์โหลดมาทดลองใช้งานได้จากเว็บไซต์ Windows PowerShell V2 Community Technology Preview 2 (CTP2)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
เว็บไซต์ Microsft Windows PowerShell
Windows PowerShell 1.0 for Windows Server 2003 และ Windows XP
บล็อกของ Windows PowerShell


Keywords: Windows PowerShell 2.0 CTP2

© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

Microsoft Security Bulletin Minor Revisions‏ (MS08-037)

ไมโครซอฟท์ซีเคียวริตี้อัพเดท Minor Revisions
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ทำการปรับปรุงซีเคียวริตี้อัพเดทหมายเลข MS08-037 ซึ่งเป็นอัพเดทเพื่อปิดช่องโหว่ความปลอดภัยของ DNS (Windows)(KB 953230) เป็น Revision 2.2 ตามรายละเอียดด้านล่าง

MS08-037: Vulnerabilities in DNS Could Allow Spoofing (953230)
อัพเดทลิงค์: http://www.microsoft.com/technet/security/bulletin/ms08-037.mspx
เหตุผลในการปรับปรุง:
เพิ่มประเด็นปัญหาจำนวน 3 ข้อในส่วนของ Frequently Asked Questions (FAQ)
การอัพเดทตัวนี้จะแทนการอัพเดทตัวเดิมที่ออกเมื่อ: 8 กรกฎาคม 2551
วันที่ออกอัพเดท: 25 กรกฎาคม 2551
ระดับความร้านแรง: ความร้ายแรงระดับสูง (Important)
เวอร์ชัน: 2.0
ซอฟต์แวร์ที่ได้รับผลกระทบ:
- Windows Vista และ Windows Vista Service Pack 1
- Windows Vista x64 Edition และ Windows Vista x64 Edition Service Pack 1
- Windows Server 2008 for 32-bit Systems (Windows Server 2008 Server Core installation affected)
- Windows Server 2008 for x64-based Systems (Windows Server 2008 Server Core installation affected)
- Windows Server 2008 for Itanium-based Systems
ผลกระทบ: Remote Code Execution

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
MS08-037

Add to Technorati Favorites  Add to Google  Add to digg.com  Add to del.icio.us

Keywords: MS08-037 KB953230

© 2008, All Rights Reserved.

Windows Server 2008 Administration

การจัดการ Windows Server 2008 แบบ Stand Alone
การจัดการ Windows Server 2008 เบื้องต้นนั้น ได้แก่การเปลี่ยนชื่อเครื่อง การเปลี่ยนกลุ่ม การจัดการยูสเซอร์ นโยบายความปลอดภัย การจัดการจากระยะไกล การจัดการฮาร์ดดิสก์ การติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เป็นต้น

การเปลี่ยนชื่อเครื่อง (Change computer name)
การเปลี่ยนชื่อเครื่อง (Computer Name) นั้น สามารถทำได้โดยผ่านทาง Server Manager ตามขั้นตอนดังนี้

1. เปิด Server Manager โดยการคลิก Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1


รูปที่ 1 Server Manager

2. ในหน้าต่าง Server Manager ในส่วน Server Summary ให้คลิก Change System Properties


รูปที่ 2 Server Summary

3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties บนแท็บ Computer Name ให้คลิกปุ่ม Change


รูปที่ 3 System Properties

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Computer Name/Domain Changes ในช่อง Computer name ใส่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK


รูปที่ 4 Computer Name/Domain Changes

5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties ให้คลิก OK อีกครั้ง
6. ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือนให้ทำการรีสตาร์ทระบบให้คลิก Restart Now เพื่อทำการรีสตาร์ทเครื่อง

หมายเหตุ:
การเปลี่ยนชื่อเครื่อง (Computer Name) นั้นสามารถทำได้หลายทาง ดังนี้
  • คลิก Start คลิก Control Panel แล้วดับเบิลคลิก System จากนั้นคลิก Advanced Settings แล้วคลิกแท็บ Computer Name
  • คลิก Start คลิกขวาที่ Computer คลิก Properties จากนั้นคลิก Advanced Settings แล้วคลิกแท็บ Computer Name

การเปลี่ยนกลุ่ม (Change Workgroup)
การเปลี่ยน Workgroup มีวิธีการคล้ายกันกับการเปลี่ยนชื่อเครื่อง โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เปิด Server Manager โดยการคลิก Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในส่วน Server Summary ให้คลิก Change System Properties
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties บนแท็บ Computer Name ให้คลิกปุ่ม Change
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Computer Name/Domain Changes ในช่อง Workgroup ใส่ชื่อเวิร์กกลุ่มที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK
5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties ให้คลิก OK อีกครั้ง
6. ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือนให้ทำการรีสตาร์ทระบบให้คลิก Restart Now เพื่อทำการรีสตาร์ทเครื่อง

การจัดการยูสเซอร์ (User Management)
การจัดการยูสเซอร์บน Windows Server 2008 นั้น มีลักษณะการทำงานเหมือนกันกับการจัดการยูสเซอร์บน Windows XP และ Windows Server 2003 โดยมีรูปแบบการจัดการ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. การจัดการแบบกราฟิกอินเทอร์เฟชโดยการใช้สแนป-อิน Microsoft Management Console (MMC) ชื่อ Server Manager
2. การจัดการแบบกราฟิกอินเทอร์เฟชโดยการใช้สแนป-อิน Microsoft Management Console (MMC) ชื่อ Computer Management
3. การจัดการแบบคอมมานด์พร็อมพ์โดยการใช้คำสั่ง Net user และ Net Localgroup จากคอมมานด์พร้อมท์

ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการจัดการแบบกราฟิกอินเทอร์เฟชโดยการใช้สแนป-อิน Microsoft Management Console (MMC) ชื่อ Server Manager โดยจะกล่าวเพิ่มเติมในส่วนของการใช้ Computer Management และสำหรับการจัดการด้วยคำสั่ง net user นั้น จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อๆ ไป

Microsoft Management Console (MMC)
Microsoft Management Console หรือ MMC เป็นเครื่องมือที่ไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ดูแลระบบ (Administrator) ในการบริหารจัดการระบบต่างๆ บนวินโดวส์ เช่น การจัดการฮาร์ดแวร์ (Hardware), การจัดการนโยบายความปลอดภัยของระบบ (Security Policy), การจัดการยูสเซอร์และกลุ่ม (Users and Groups), และการจัดการบริการต่างๆ (Services) เป็นต้น โดยสามารถใช้ MMC ในการ สร้าง บันทึก และ เปิด เครื่องมือต่างๆ ที่ชื่อ สแนป-อิน (Snap-in) ซึ่งมีมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ สำหรับเครื่องมือที่ MMC ทำการบันทึกนั้นจะเรียกว่า MMC Console สำหรับเวอร์ชันของ MMC ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 จะเป็นเวอร์ชัน MMC 3.0

สแนป-อิน (Snap-in) คือเครื่องมือต่างๆ ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่รองรับโดย MMC ตัวอย่าง สแนป-อินที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ Computer Management, Serivecs เป็นต้น

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งาน Microsoft Management Console บน Windows Server 2008 จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อๆ ไป

การจัดการยูสเซอร์ด้วย Server Manager
Server Manager นั้น เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาใน Windows Server 2008 ซึ่งเป็นการรวมการจัดการเซิร์ฟเวอร์ในด้านต่างๆ ให้อยู่ในหน้าต่างเดียว เพื่อความสะดวกในการใช้งาน มีการทำงานแบบกราฟิกอินเทอร์เฟช โดย Server Manager นั้น สามารถใช้จัดการด้านต่างๆ ได้ 5 ระบบ คือ
1. Roles
2. Features
3. Diagnostics
4. Configuration
5. Storage

โดยการส่วนของการจัดการเกี่ยวกับยูสเซอร์จะอยู่ใน Local Users and Groups ซึ่งอยู่ภายใต้หัวข้อ Configaration

องค์ประกอบของ Server Manager
Server Manager นั้นจะเป็นสแนป-อินตัวหนึ่งของ Microsfot Management Console (MMC) โดยจะมีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบด้วยกัน ดังนี้
1. เมนูบาร์ เป็นแถบคำสั่งต่างๆ ให้เลือกใช้งาน มี 4 คำสั่ง คือ File, Action, View และ Help
2. ทูลบาร์ เป็นแถบเครื่องมือต่างๆ ให้เลือกใช้งาน มี 6 คำสั่ง Back, Forward, Up One Level, Show/Hide Console tree, Export และ Help
3. คอนโซลทรี เป็นโฟลเดอร์หัวข้อต่างๆ ที่มีในคอนโซล จะอยู่ในด้านซ้ายมือของหน้าต่าง
4. ดีเทลแพน แสดงรายละเอียดของแต่ละหัวข้อในคอนโซลทรี ะอยู่ในตรงกลางของหน้าต่าง
5. เอ็คชันแพน แสดงรายละเอียดของคำสั่งที่สามารถใช้ได้ จะอยู่ในด้านซ้ายมือของหน้าต่าง

การจัดการยูสเซอร์บน Windows Server 2008
• การสร้างยูสเซอร์ใหม่ (Create New User)
การสร้างยูสเซอร์ใหม่บน Windows Server 2008 โดยใช้ Server Manager มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1
2. ในหน้าต่าง Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Configuration แล้วคลิกเครื่องหมาย + หน้า Local Users and Groups


รูปที่ 5 New User

3. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ Users แล้วเลือก New User… ซึ่งจะได้หน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ New User ดังรูปที่ 6


รูปที่ 6 New User

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ New User ให้ใส่ User name, Full name, Description, Password, Confirm password และเลือก Option ตามความต้องการ โดยคลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้าหัวข้อที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Create

อ็อปชันของการสร้างแอคเคาท์ใหม่
  • User must change password at next log on คือ กำหนดให้ยูสเซอร์ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านในการล็อกออนครั้งต่อไป
  • User cannot change password คือ กำหนดให้ยูสเซอร์ไม่สามารถเปลี่ยนรหัสผ่านได้เอง
  • Password never expires คือ กำหนดให้รหัสผ่านไม่มีการหมดอายุ
  • Account is disabled คือ ระงับการใช้งานยูสเซอร์ชั่วคราว

หมายเหตุ:
1. ในกรณีที่ใช้สแนป-อิน Computer Management ในการสร้างยูสเซอร์ สามารถทำได้โดยการคลิก Start คลิก Administrative Tools แล้วคลิก Computer Management
2. พาสเวิร์ดที่ใส่นั้น จะต้องเป็นไปตามนโยบาย Password must meet complexity requirement คือจะต้องประกอบด้วย อักษรตัวเล็ก (a , b, c, …y, z) อักษรตัวใหญ่ (A, B, C, …Y, Z) อักษรพิเศษ (!, @, # , $, %, ^, &, *, (, ), _,+ และ ตัวเลข (1, 2, 3, ..9, 0) หากใส่ค่าไม่ถูกต้องระบบจะแสดงข้อความผิดพลาดดังรูปที่ 7


รูปที่ 7 The password does not meet the password policy requirements.

• การลบเซอร์ (Delete User)
การลบยูสเซอร์บน Windows Server 2008 โดยใช้ Server Manager มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1
2. ในหน้าต่าง Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Configuration แล้วคลิกเครื่องหมาย + หน้า Local Users and Groups
3. ให้คลิกที่โฟลเดอร์ Users แล้วคลิกขวา User ที่ต้องการลบในแพนด้านขวามือ แล้วคลิก Delete ดังรูปที่ 8


ดังรูปที่ 8 Delete user

4. วินโดวส์จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ ให้ยืนยันการลบยูสเซอร์ดังรูปที่ 8 ให้คลิก Yes เพื่อยืนยัน


ดังรูปที่ 9 Delete user confirm

• การสร้างกลุ่มใหม่ (Create New Group)
การสร้างกลุ่มใหม่บน Windows Server 2008 โดยใช้ Server Manager มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ Start คลิก Server Manager ดังรูปที่ 1
2. ในหน้าต่าง Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Configuration แล้วคลิกเครื่องหมาย + หน้า Local Users and Groups


รูปที่ 10 New Group

3. ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ Groups แล้วเลือก New Group... ซึ่งจะได้หน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ New Group ดังรูปที่ 11


รูปที่ 11 New Group

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ New Group ให้ใส่ Group name สำหรับ Group Description ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้เสร็จแล้วคลิก Create หากไม่ต้องการสร้างกลุ่มเพิ่มให้คลิก Close

• การเปลี่ยนชื่อกลุ่ม
การเปลี่ยนชื่อกลุ่มนั้นทำได้ ตามขั้นตอนดังนี้

1. คลิกขวาที่กลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนชื่อแล้วลือก Rename
2. พิมพ์ชื่อที่ต้องการกำหนดให้เป็นชื่อของกลุ่ม เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อจบการทำงาน

• การเพิ่มยูสเซอร์เข้าเป็นสมาชิก
การเพิ่มยูสเซอร์เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นทำได้ ตามขั้นตอนดังนี้

1. ดับเบิลคลิกที่กลุ่มที่ต้องการเพิ่มสมาชิก หรือคลิกขวาที่กลุ่มที่ต้องการเพิ่มสมาชิกแล้วลือก Add to Group.. ดังรูปที่ 12 ซึ่งจะได้หน้า "Group" Properties ลักษณะดังรูปที่ 13


รูปที่ 12 Add to Group


รูปที่ 13 "Group" Properties

2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ "Group" Properties ดังรูปที่ 13 ให้คลิก Add
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Users ให้ใส่ชื่อยูสเซอร์ที่ต้องการเพิ่มเข้าเป็นสมาชิก เสร็จแล้วคลิก OK

หมายเหตุ:
ในกรณีที่ต้องการเพิ่มมากกว่าหนึ่งยูสเซอร์ให้คั่นระหว่างยูสเซอร์ด้วย ; และ space ตัวอย่างเช่น: user1; user2; user3 เป็นต้น


รูปที่ 14 Select Users

4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ "Group" Properties ให้คลิก OK เพื่อจบการทำงาน

• การลบยูสเซอร์ออกจากการเป็นสมาชิก
การลบยูสเซอร์ออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นทำได้ ตามขั้นตอนดังนี้

1. ดับเบิลคลิกที่กลุ่มที่ต้องการลบยูสเซอร์ออกจากการเป็นสมาชิก หรือคลิกขวาที่กลุ่มที่ต้องการเพิ่มสมาชิกแล้วลือก Add to Group.. ซึ่งจะได้หน้า "Group" Properties ลักษณะคล้ายรูปที่ 13
2. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ "Group" Properties ให้คลิกยูสเซอร์ที่ต้องการลบออกจากการเป็นสมาชิก เสร็จแล้วคลิก Remove
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ "Group" Properties ให้คลิก OK เพื่อจบการทำงาน

การติดตั้งโปรแกรมบน Windows Server 2008
การติดตั้งโปรแกรมบน Windows Server 2008 นั้น มีรูปแบบและวิธีการเหมือนกับการติดตั้งบนโปรแกรมบนวินโดวส์เวอร์ชั่นอื่นๆ โดยรูปแบบการติดตั้งมี 2 แบบ คือ
1. การติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบของวินโดวส์ มีวิธีการติดตั้งเหมือนกันกับการติดตั้งโปรแกรมบนวินโดวส์เวอร์ชั่นอื่นๆ
2. การติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของวินโดวส์ ทำได้โดยการเปิด Add or Remove Programs จาก Control Panel แล้วเลือก Add/Remove Windows Components จากนั้นเลือก component ที่ต้องการ

การติดตั้งฮาร์ดแวร์บน Windows Server 2008
การติดตั้ง Hardware บน Windows Server 2008 นั้น มีรูปแบบและวิธีการเหมือนกันกับการติดตั้งบน Hardware บน Windows XP ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลังจากติดตั้งตัวฮาร์ดแวร์เสร็จแล้ว จะต้องทำการติดตั้งไดรฟ์เวอร์ให้กับฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งด้วย ในส่วนของวิธีการติดตั้งไดรฟ์เวอร์นั้นให้ศึกษาจากคู่มือที่มากับฮาร์ดแวร์นั้นๆ สำหรับวิธีการตรวจสอบการทำงานของ Hardware ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้น สามารถทำได้โดยการเปิด System Properties แล้วคลิกแท็บ Hardware จากนั้นคลิก Device Manager ถ้าหากว่าอุปกรณ์ตัวใดมีเครื่องหมาย ! สีเหลือง หรือ สีแดง แสดงว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมีปัญหา ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการลงไดรฟ์เวอร์ (Driver) ใหม่ แต่ถ้าหากลงไดรฟ์เวอร์ใหม่แล้วยังไม่หายอาจเป็นไปได้ว่าตัว Hardware อาจเสีย

ทิป: กดคีย์ Windows + Break พร้อมกันเพื่อเปิด System Properties

การจัดการจากระยะไกล (Remote Management)
การจัดการระบบ Windows Server 2008 นอกจากการทำแบบโลคอลแล้ว แอดมินยังสามารถทำการจัดการ Windows Server 2008 จากระยะไกล (Remote Management) ผ่านระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องไปทำงานที่หน้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ได้เช่นเดียวกับบน Windows XP โดยใช้ฟีเจอร์ Remote Management ซึ่งมีมาพร้อมกับ Windows Server 2008 อยู่แล้ว โดยอ่านรายละเอียดได้จาก การใช้งาน Remote Desktop บน Windows Server 2008

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

© 2008 Thai Windows Administrator Blog, All Rights Reserved.

การย้ายโฟลเดอร์ Print Spool ใน Windows XP

การย้ายโฟลเดอร์ print spool ใน Windows XP
โฟลเดอร์ Print Spool คือโฟลเดอร์ที่ Windows XP ใช้สำหรับเก็บวานที่รอการพิมพ์ โดยดีฟอลท์โฟลเดอร์ Print Spool จะอยู่ในบูทพาร์ติชันของวินโดวส์ แต่อย่างไรก็ตามสามารถทำการย้ายไปยังพาร์ติชันอื่นได้ ซึ่งการย้ายโฟลเดอร์ Print Spool ไปอยู่ในพาร์ติชันอื่นนั้น จะทำให้สมรรถภาพโดยรวมของระบบดีขึ้น วิธีการย้ายโฟลเดอร์ Print Spool มีขั้นตอนดังนี้

1. ล็อกออนเข้าเครื่องด้วยแอคเคาท์กลุ่ม Administrator
2. คลิก Start คลิก My Computer แล้วคลิกไดร์ฟหรือโฟลเดอร์ที่จะย้ายโฟลเดอร์ Print Spool ไปอยู่
3. คลิกเมนู File คลิก New เลือก Folder แล้วตั้งชื่อโฟลเดอร์ตามต้องการ
4. คลิก Start คลิก Printers and Faxes
5. ในหน้า Printers and Faxes คลิกเมนู File คลิก Server Properties
6. ในหน้า Print Server Properties คลกแท็บ Advanced
7. ในช่อง Spool Folder: ให้ใส่พาธเต็มของโฟลเดอร์ที่สร้างในขั้นตอนที่ 3 ตัวอย่างเช่น D:\Spool\PRINTERS
8. คลิก Apply วินโดวส์จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ แจ้งให้ยืนยันการย้ายโฟลเดอร์ Print Spool ให้คลิก Yes
9. คลิก OK และในหน้า Print Server Properties เพื่อจบการทำงาน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
บทความเกี่ยวกับ Windows XP


Print Spool Folder Printers and Faxes

© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

ไมโครซอฟท์เตือนให้ระวังการโจมตีผ่านทาง DNS

ไมโครซอฟท์เตือนให้ระวังการโจมตีผ่านทาง DNS
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเกี่ยวกับซีเคียวริตี้อัพเดทหมายเลข MS08-037 (KB953230) (MS08-037: Windows Domain Name System (DNS) spoofing attacks) ซึ่งเป็นอัพเดทเพื่อปิดช่องโหว่ความปลอดภัยของ DNS ของวินโดวส์ โดยช่องโหว่นี้จะมีผลกระทบกับระบบปฏิบัติการ Windows Vista และ Windows Vista SP1, Windows Vista x64 Edition, Windows Vista x64 Edition SP1, Windows Server 2008 for 32-bit Systems (Windows Server 2008 Server Core installation affected) และ Windows Server 2008 for x64-based Systems (Windows Server 2008 Server Core installation affected)

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ออก Microsoft Security Advisory หมายเลข 956187 (Microsoft Security Advisory 956187 ) เพื่อแจ้งเตือนยูสเซอร์ซึ่งใช้ระบบที่ได้รับผลกระทบ Windows Domain Name System (DNS) spoofing attacks ให้ระวังการโจมตีผ่านทางช่องโหว่ความปลอดภัยดังกล่าวนี้ เนื่องจากมีการเปิดเผย exploit code สำหรับโจมตีระบบผ่านทางช่องโหว่นี้บนเว็บไซต์ต่างๆ โดยไมโครซอฟท์ได้แนะนำให้ยูสเซอร์ทำการติดตั้งซีเคียวริตี้อัพเดทหมายเลข MS08-037 เพื่อปิดช่องโหว่นี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
MS08-037 Domain Name System (DNS) spoofing attacks

Add to Technorati Favorites  Add to Google  Add to digg.com  Add to del.icio.us

Keywords: MS08-037 KB953230 956187

© 2008, All Rights Reserved.

Windows Server 2008 MMC

สำรวจ Microsoft Management Console ของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008
Microsoft Management Console หรือ MMC นั้นเป็นเฟรมเวิร์กสำหรับใช้งานรันสแนป-อิน (Snap-In) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ไมโครซอฟท์ได้จัดเตรียมไว้ในระบบวินโดวส์ ตัวอย่างของสแนป-อินที่คุ้นเคยและใช้งานบ่อยๆ เช่น Computer Management เป็นต้น โดยในวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 นั้น จะมาพร้อมกับ MMC เวอร์ชัน 3.0


รูปที่ 1

โดยในวินส์โดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 นั้น ได้รวบรวมคำสั่งสแนป-อินที่ใช้งานบ่อยๆ ไว้ใน Administrative Tools ให้มาพร้อมแล้ว ตามรายชื่อด้านล่าง (สแนป-อินบางตัวจะมีก็ต่อเมื่อมีการเพิ่ม Role ให้กับเซิร์ฟเวอร์) สำหรับในส่วนของรายชื่อสแนป-อินของ WIndows Server 2008 นั้น สามารถดูรายละเอียดได้จาก สแนป-อิน คำสั่งของ Windows Server 2008

• Terminal Services
• Component Services
• Data Sources (ODBC)
• Event Viewer
• iSCSI Initiator
• Local Security Policy
• Memory Diagnotics Tool
• Print Management
• Reliability and Performance Monitor
• Security Configuration Wizard
• Server manager
• Services
• Share and Storage Menagement
• Storage Explorer
• System Configuration
• Task Scheduler
• Windows Firewall and Advanced Security
• Windows Server Backup


รูปที่ 2

ถึงแม้ว่าโดยดีฟอลท์จะมีสแนป-อินต่างๆ มาให้อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามแอดมินก็สามารถทำการสร้าง MMC คอนโซลเพิ่มเพื่อความสะดวกในการใช้งานได้

การสร้าง MMC Console
การเรียกใช้งาน MMC มีขั้นตอน ดังนี้
1. คลิก Start แล้วพิมพ์ MMC ในช่อง Start Search แล้วคลิกที่ MMC ดังรูปที่ 3


รูปที่ 3

2. ในหน้าต่าง MMC Console ทำการเพิ่มสแนป-อิน โดยการคลิกที่เมนู File แล้วเลือก Add/Remove Snap-in ดังรูปที่ 4



3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Add or Remove Snap-ins ให้เลือกสแนป-อินที่ต้องการ ในที่นี้เลือก Local Users and Groups แล้วคลิก Add (สามารถเลือกได้หลายสแนป-อินตามความต้องการใช้งาน)



4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Choose Target machine ให้เลือกเป็น Local Machine เสร็จแล้วคลิก Finish



5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Add or Remove Snap-ins ให้คลิก OK ซึ่งจะได้หน้าต่าง Console1 -[Console Root\Local Users and Groups]



6.ทำการบันทึกไว้ใช้งานในครั้งต่อๆ ไป โดยคลิกกที่เมนู File แล้วเลือก Save จากนั้นเลือกตำแหน่งที่ต้องการเก็บคอนโซล เช่น Desktop เป็นต้น แล้วใส่ไฟลืที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น Local Users and Groups เสร็จแล้วคลิก Save

ในการใช้งานครั้งต่อไป สามารถทำการดับเบิลคลิกที่ไฟล์ที่ทำการบันทึกในขั้นตอนที่ 6 ได้เลย

หมายเหตุ:
สามารถทำการปรับแต่งหน้าต่าง MMC Console ได้ โดยการคลิกที่เมนู View แล้วคลิก Customize จากนั้น ให้เลือกหัวข้อที่ต้องการให้แสดง ตามความต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
การจัดการ Windows Server 2008 แบบ Stand Alone
การติดตั้งวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server)

Keywords: Windows Server 2008 Microsoft Management Console MMC

© 2008 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.