Thursday, January 3, 2008

How to optimize Windows Vista for better performance

การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน Windows Vista
คำแนะนำต่างๆ ดังต่อไปนี้ เป็นคำแนะนำวิธีการปรับแต่งระบบเพื่อให้การใช้งาน Windows Vista เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

1. ทำการยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งาน (Delete programs you never use)
การยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานหรือไม่มีความจำเป็นในการใช้งานออก จะช่วยให้วินโดวส์ทำงานได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะยูสเซอร์ที่ซื้อเครื่องแบรนด์เนม ซึ่งอาจจะมีโปรแกรมที่ไม่มีความจำเป็นต่อการใช้งานหลายตัวติดตั้งอยู่บนเครื่อง

วิธีการยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม
1.1 เปิด Programs and Features โดยการคลิก Start button คลิก Control Panel คลิก Programs แล้วคลิก Programs and Features
1.2 คลิกเลือกโรปแกรมที่ต้องการ จากนั้นคลิก Uninstall ให้ใส่รหัสผ่านของแอดมินถ้าหากวินโดวส์พร็อมพ์ให้ใส่รหัสผ่าน

2. จำกัดจำนวนโปรแกรมที่ทำงานพร้อมกับ Windows (Limit how many programs load at startup)
เนื่องจากมีโปรแกรมหลายตัวที่ที่ทำงานพร้อมกับการสตาร์ท Windows ดังนั้น ให้ทำการลบโปรแกรมที่ไม่จำเป็นออก จะช่วยให้วินโดวส์ทำงานได้เร็วขึ้น

2.1 เปิด System Configuration โดยการคลิกปุ่ม Start คลิก Control Panel คลิก System and Maintenance (หากตั้งเป็น Classic View ให้คลิก Administrative Tools ได้เลย) คลิก Administrative Tools และดับเบิลคลิก System Configuration ใส่รหัสผ่านของแอดมินถ้าหากวินโดวส์พร็อมพ์ให้ใส่รหัสผ่าน
2.2 ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ System Configuration คลิกแท็บ Startup จากนั้นให้เคลียร์เช็คบ็อกซ์โปรแกรมที่ไม่ต้องการให้ทำงานในตอนวินโดวส์สตาร์ทออก เสร็จแล้ว OK และให้ทำการ Restart หากวินโดวส์พร็อมพ์ให้ทำการรีสตาร์ท

3. ทำการดีแฟรกฮาร์ดดิสก์ (Defragment your hard drive)
การดีแฟรกฮาร์ดดิสก์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้วินโดวส์ทำงานได้เร็วขึ้น

3.1 เปิด Disk Defragmenter โดยการคลิก Start button คลิก All Programs, คลิก Accessories คลิก System Tools และคลิก Disk Defragmenter รหัสผ่านของแอดมินถ้าหากวินโดวส์พร็อมพ์ให้ใส่รหัสผ่าน
3.2 คลิก Defragment Now

4. ทำการลบข้อมูลขยะออกจากฮาร์ดดิสก์ (Clean up your hard disk)
การลบข้อมูลขยะออกจากฮาร์ดดิสก์ จะช่วยให้วินโดวส์ทำงานได้เร็วขึ้น

4.1 เปิด Disk Cleanup โดยการคลิก the Start button คลิก All Programs, คลิก Accessories คลิก System Tools และคลิก Disk Cleanup
4.2 ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Disk Cleanup Options ให้เลือกว่าต้องการลบ your own files only หรือ all of the files on the computer ให้ใส่รหัสผ่านของแอดมินถ้าหากวินโดวส์พร็อมพ์ให้ใส่รหัสผ่าน
4.3 ถ้าวินโดวส์แสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Disk Cleanup ให้เลือกไดรฟ์ที่ต้องการข้อมูลขยะออก เสร็จแล้วคลิก OK
4.4 คลิกแท็บ Disk Cleanup tab และคลิกเลือก check boxes หน้าไฟล์ที่ต้องการลบ
4.5 หลังจากทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการลบเสร็จแล้วให้คลิก OK และคลิก Delete เพื่อยืนยันการลบ

5. ไม่รันโปรแกรมพร้อมกันหลายตัว (Run fewer programs at the same time)
การเปิดใช้งานโปรแกรมพร้อมกันหลายๆ ตัวนั้น จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงจนรู้สึกได้ ดังนั้นควรทำงานกับโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งให้แล้วเสร็จ แทนการทำการรันโปรแกรมพร้อมกันหลายๆ ตัว จะช่วยให้วินโดวส์ทำงานได้เร็วขึ้น

6. ทำการปิดวิชวลเอ็ฟเฟ็กท์ (Turn off visual effects)
การปิดหรือปรับแต่งวิชวลเอ็ฟเฟ็กท์ให้เหมาะสมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จะช่วยให้วินโดวส์ทำงานได้เร็วขึ้น

6.1 เปิด Performance Information and Tools โดยการคลิกที่ปุ่ม Start คลิก Control Panel คลิก System and Maintenance และคลิกที่ Performance Information and Tools
6.2 คลิก Adjust visual effects ให้ใส่รหัสผ่านของแอดมินถ้าหากวินโดวส์พร็อมพ์ให้ใส่รหัสผ่าน
6.3 คลิกแท็บ Visual Effects คลิก Adjust for best performance และคลิก OK (เพื่อการทำงานที่เหมาะสมที่สุดขอแนะนำให้เลือกอ็อปชัน Let Windows choose what’s best for my computer)


รูปที่ 1 Visual Effects

7. ทำการรีสตาร์ทอย่างสม่ำเสมอ (Restart regularly)
เนื่องจากในการทำงานของวินโดวส์นั้น มีโปรแกรมหรือเซอร์วิสต่างๆ ที่ทำงานแบบแบ็คกราวด์และจะยังทำงานอยู่แม่ว่าเราจะปิดโปรแกรมที่เรียกใช้งานโปรแกรมหรือเซอร์วิสต่างๆ เหล่านั้นไปแล้วก็ตาม ซึ่งการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำให้โปรแกรมหรือเซอร์วิสต่างๆ เหล่านั้นหยุดทำงานอย่างสมบูรณ์และยังเป็นการเคลียร์เมมโมรีของระบบอีกด้วย โดยแนะนำให้ทำการรีสตาร์ททุกๆ วัน (หรืออย่างน้อย 1 ครั้งต่ออาทิตย์)

8. เพิ่มเมมโมรี (Add more memory)
ในกรณีที่รู้สึกว่า Windows Vista ทำงานช้าลง การเพิ่มเมมโมรีอาจป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ถึงแม้ว่า Windows Vista จะสามารถได้กับเครื่องที่มีเมมโมรี 512 MB แต่จะทำงานได้ดีกว่าถ้ามีเมมโมรี 1 GB (ในกรณีที่ใช้งานหลายๆ โปรแกรมนั้น ควรมีเมมโมรี อย่างน้อย 2 GB )

9. ตรวจสอบไวรัสและสปายแวร์ (Check for viruses and spyware)
ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัสและสปายแวร์ จะทำให้การทำงานของเครื่องช้าลง ซึ่งโดยทั่วไปนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะช้าลงอย่างมากจนรูสึกได้ และจะมีสัญญาณต่างๆ เช่น ครื่องการหยุดทำงาน มีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อย มีป็อปอัพแสดงโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือฮาร์ดดิสก์ทำงานหนักผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งวิธีป้องกันคือ ให้ทำการติดตั้งโปรแกรม antispyware และ antivirus แล้วทำการอัพเดทซิกเนเจอร์อย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญควรทำการสแกนระบบเป็นประจำด้วย

10. ตรวจสอบความเร็วของเครื่อง (Check your computer’s speed)
Windows Experience Index นั้นจะเป็นดัชนีวัดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows Vista ซึ่งค่าที่ได้จะอยู่ระหว่าง 1 ถึง 5.9 (ในปัจจุบันนั้น Windows Experience Index จะไม่มีค่าที่สูงกว่า 5.9 แต่อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์ได้วางแผนที่จะเพิ่มค่าให้สูงขึ้นในอนาคต ให้เหมาะสมกับระบบฮาร์ดแวร์มีการพัฒนาขึ้น)

ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านมีค่า Windows Experience Index น้อยกว่า 3 ควรพิจารณาทำการอัพเกรดอาณดแวร์ เช่น hard disk, video card หรือเพิ่ม Memory จะช่วยให้วินโดวส์ทำงานได้เร็วขึ้น

11. ปิดบริการที่ไม่จำเป็น (Disable services you don’t need)
ในระบบปฏิบัติการ Windows Vista นั้น จะมีบริการต่างรันมากกว่า 100 ตัว เช่น Network Access Protection Agent และ Shell Hardware Detection ซึ่งบริการบางตัวนั้นอาจจะไม่จำเป็นต่อการใช้งานของท่าน ดังนั้นการปิดบริการต่างๆ เหล่านั้นที่ไม่จำเป็น จะช่วยให้วินโดวส์ทำงานได้เร็วขึ้น แต่มีข้อควรระวังคือต้องตรวจสอบให้แน่นอนก่อนว่าไม่มีผลต่อการทำงานก่อนที่จะทำการปิดบริการต่างๆ

12. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม (Don’t settle for slow)
ถ้าหากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ยังมีอาการช้าอยู่ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://windowshelp.microsoft.com/Windows/en-US/Help/95f70af6-edd6-4f2f-9f02-7d6bdf0190611033.mspx

บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
• Optimize Windows Vista for better performance ที่เว็บไซต์ http://windowshelp.microsoft.com/Windows/en-US/help/83EC0FFE-EE04-4D53-8B87-25D1F05C954E1033.mspx

© 2007 Thai Windows Administrator, All Rights Reserved.

0 Comment: